ดัชชุนด์ (Dachshund)สุนัขดัชชุนด์ เป็นสุนัขที่อยู่ในกลุ่มฮาวด์มีรูปร่างที่กระทัดรัด ฉลาด ขี้ประจบ ลำตัวยาวดูแปลกตาจึงเป็นที่รู้จักกันในนาม "สุนัขไส้กรอก" ชื่อดัชชุนด์ (dachs หมายถึงสัตว์ชนิดหนึ่ง hund หมายถึงสุนัข ) ปรากฎในหนังสือเกี่ยวกับการล่าสัตว์ในยุโรปสมัยกลาง เป็นสุนัขที่มีความคล้ายคลึงสุนัขฮาวด์ในการแกะรอย และมีรูปร่างและอารมณ์คล้ายสุนัขเทอร์เรียร์ มีความสามารถในการติดตามตัวแบดเจอร์ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ใต้ดินและมักจะออกมาหาอาหารตอนกลางคืน จึงมักถูกเรียกว่าสุนัขแบดเจอร์ด้วยความแข็งแรงและทรหด บวกกับความฉลาดและกล้าหาญ ทั้งบนและใต้พื้นดิน สุนัขดัชชุนด์หลายตัวรวมกันสามารถเข้าต่อกรกับหมีป่าได้อย่างสบาย ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้จึงมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อใช้ในเกมล่าสัตว์แบบอื่นๆ สุนัขดัชชุนด์ขนาดเล็กที่มีน้ำหนัก 16 - 22 ปอนด์ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับสุนัขจิ้งจอก และในการแกะรอยกวางที่ได้รับบาดเจ็บ สุนัขขนาดนี้ได้กลายมาเป็นที่รู้จักกันดีในอเมริกา สุนัขที่มีขนาดเล็กกว่า โดยมีน้ำหนัก 12 ปอนด์ ถูกนำมาใช้ล่าสัตว์ป่าชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า "Stoat" มีขนาดเล็ก มีขนสีน้ำตาล อาศัยอยู่ในยุโรปตอนเหนือการนำเข้าสุนัขพันธุ์ดัชชุนด์มายังประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นมาก่อนการจัดโชว์สุนัขอเมริกาครั้งแรก สุนัขที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกใช้ในการล่าสัตว์น้อยมากเพราะว่าไม่ค่อยมีตัวแบดเจอร์และหมีป่า และไม่มีการล่ากวางด้วยสุนัข รวมทั้งไม่มีการล่าสุนัขจิ้งจอกด้วยการดมกลิ่น ลักษณะและรูปร่างที่ถูกต้องของสายพันธุ์ได้รับการส่งเสริม โดยการนำเข้าสายพันธุ์ที่ใช้ในการล่าสัตว์ของเยอรมันและเพื่อส่งเสิรมความสามารถในการล่าสัตว์ รวมถึงรูปร่างและอารมณ์ที่ดีเลิศ ความสามารถในภาคสนามตามกฎของ AKC ได้รับการกำหนดขึ้นในปี 1935ลักษณะพิเศษของสายพันธุ์ มีศีรษะที่ยาว และจมูกที่มีการพัฒนาอย่างดี กระดูกเชิงกรานและกระดูกขาได้มุมอย่างเหมาะสมท่าทางการเดินก่อให้เกิดช่องว่าง ขนาดใหญ่สำหรับปอดและหัวใจ แต่ไม่กว้างจนเกินไป ผิวหนังยืดหยุ่นและอ่อน สำหรับการเคลื่อนที่อย่างอิสระในพื้นที่จำกัดใต้ดิน ขากรรไกรที่ค่อนข้างยาวและมีพละกำลังพร้อมฟันที่แข็งแรง คอยาวและแข็งแรงเสมือนเป็นข้อมือของนักดาบ ขาทรงพลังและเท้าที่แข็งแรงเพื่อการขุดดิน และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดความกล้าหาญอันสูงล้ำ ที่ทำให้ตอบสนองต่อการเข้าโจมตีหรือการป้องกันโดยปราศจากการทะเลาะวิวาท หรือการก้าวร้าวที่ไม่พึงปรารถนาสุนัขดัชชุนด์ ซึ่งเด่นที่สุดในอเมริกามีขนาดเล็กเพียงพอที่จะอาศัยอยู่ในบ้านหรืออพาร์ทเมนต์ แม้กระนั้นก็มีขนาดใหญ่เพียงพอสำหรับพาไปเดินตามท้องถนน การที่มีขาสั้น รูปร่างเพรียว ขนสั้นจึงไม่ต้องการการถอนขน การตัดแต่งขน การแปรงขน การหวี การใส่น้ำมัน และไม่ต้องอาบน้ำ เว้นแต่เพื่อชำระล้างความสกปรกที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญเท่านั้นเมื่ออยู่นอกอาคาร ดัชชุนด์มีความทรหดแข็งแรง ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เมื่ออยู่ในอาคารเขาจะแสดงความรักความอบอุ่นและตอบสนองต่อความเป็นเพื่อนที่ดี ตื่นตัวในการที่จะบอกให้เราทราบเมื่อมีคนแปลกหน้าเข้ามาสายพันธุ์มีขน 3 ประเภทให้เลือก มีขนาดมาตรฐานและเล็กจิ๋ว มีสีแดง สีดำ สีแทนและสีอื่นๆลักษณะพิเศษของขนที่แตกต่างกัน 3 ชนิด1. ขนสั้น (หรือขนเรียบ) 2. ขนลวด 3. ขนยาว ซึ่ง ทั้ง 3 ชนิดนี้ควรเป็นไปตามลักษณะมาตรฐานที่ได้กล่าวมาแล้ว ขนยาวและขนสั้นเป็นชนิดที่มีมานาน เป็นพันธุ์ที่อยู่ตัวดีแล้ว แต่ในชนิดลวด เลือดของพันธุ์อื่น ได้ผสมเข้ามาอย่างมีวัตถุประสงค์ แม้กระนั้นในการผสมพันธุ์สิ่งเน้นที่สำคัญที่สุดต้องอยูที่การให้เป็นไปตามชนิดของดัชชุนด์ทั่วไป ลักษณะดังต่อไปนี้ นำมาใช้แยกชนิดกันตามลำดับ ประเภทของดัชชุนด์ 1. ดัชชุนด์ขนสั้นและเรียบ ขน สั้น หนา เรียบ และมีประกาย ไม่มีบริเวณที่ขนหลุดล่วงเหลือแต่หนัง ข้อบกพร่องพิเศษ คือขนละเอียด,บาง,หยาบเหลือหนาเกินไปหางค่อยๆ เรียวเล็กลงทีละน้อยไปทางปลายหาง มีขนดีแต่ไม่ถึงกับดกมาก ยาวเรียว ขนหนาหยาบที่ด้านล่างถือว่าเป็นแถบของขนที่กำลังขึ้นงอกงาม มิใช่ข้อบกพร่องสีของขน จมูกและเล็บ ดัชชุนด์สีเดียว กลุ่มนี้รวมถึงสีแดง เหลืองแดง เหลือง และลายเทา อาจจะมีหรือไม่มีขนสีดำกระจายอยู่ สีที่สะอาดเป็นสีที่นิยมมากกว่าสีแดง เป็นที่นิยมมากกว่าสีเหลืองแดงหรือสีเหลือง จุดขาวเล็กเป็นที่ยอมรับได้ แต่ก็ไม่เป็นที่ต้องการ จมูกและหางดำ สีน้ำตาลเป็นที่ยอมรับได้แต่ก็ไม่เป็นที่ต้องการ ดัชชุนด์ 2 สี จะประกอบด้วยสีดำเข้ม ช็อคโกแลต เทา (น้ำเงิน) และขาว แต่ละแบบจะมีแต้มสีแทนเหนือตาด้านข้างขากรรไกรและใต้ริมฝีปาก ด้านในของหู ด้านหน้าหน้าอก ด้านในและด้านหลังของขาหน้า ที่อุ้งเท้า และรอบก้น และจากตรงนั้นไปถึงประมาณหนึ่งในสาสมถึงหนึ่งในสองของคสามยาวของหางที่อยู่ด้านล่าง ชนิด 2 สีที่แพร่หลายมากที่สุดตามปกติจะเรียกว่าดำและแทน จุดสีขาวขนาดเล็กยอมรับได้ แต่ไม่พึงต้องการ จมูกและเล็บจะมีสีน้ำตาล สำหรับสุนัขสีเทา(น้ำเงิน) หรือขาว สีเทา หรือแม้แต่สีเนื้อ ในกรณีของสุนัขสีขาว จมูกและเล็บสีดำจะเป็นที่นิยมมากกว่า 2. ดัชชุนด์ขนลวด ลักษณะโดยทั่วไปเป็นแบบเดียวกับดัชชุนด์ขนสั้นแต่ขาไม่ยาว ยอมให้ลำตัวสูงกว่าพื้น ขนทั้งลำตัวยกเว้นขากรรไกร คิ้ว หู ปกคลุมไปด้วยขนแข็ง หยาบ หนา สั้น เหมือนกันหมดทั้งลำตัว แต่มีขนที่สั้นกว่าและละเอียดกว่ากระจายอยู่ระหว่างขนที่หนา มีเคราอยู่ที่คาง ขนคิ้วเป็นพุ่ม ที่ตรงบริเวณหูขนจะสั้นกว่าที่ลำตัว แต่กรณีใดๆ เป็นไปตามส่วนที่เหลือของขน การจัดเรียงตัวโดยทั่วไปของขน เมื่อจากระยะไกลคงคล้ายขนเรียบ ขนที่มีความนุ่มชนิดใดๆก็ตามเป็นข้อบกพร่อง 3. ดัชชุนด์ขนยาว ลักษณะที่เด่นชัดที่ทำให้สุนัขชนิดนี้ แตกต่างจากดัชชุนด์ขนสั้นหรือขนเรียบ คือเฉพาะขนแพรไหมที่ค่อนข้างยาว ขนนุ่มเรียบเป็นประกาย ขนที่หยิกเล็กน้อย ควรมีความยาวกว่าที่บริเวณใต้คอ ที่ด้านล่างของลำตัวโดยเฉพาะที่หูและหลังขาเป็นลักษณะขนยาว ขนควรมีความยาวที่ด้านใต้หาง ขนยาวพ้นขอบด้านล่างของหู ขนสั้นที่หูเรียกว่า "หนัง" ไม่เป็นที่นิยม การที่มีขนมากเกินไปทำให้ดัชชุนด์ขนยาวจะดูขนหยาบกระด้างและปิดบังชนิดของพันธุ์ดัชชุนด์จิ๋ว ดัชชุนด์ขนาดจิ๋วที่มีการผสมพันธุ์ในขนทั้ง 3 ประเภทภายในขีดจำกัดที่กำหนด มีลักษณะเหมือนดัชชุนด์ทั่วไปแต่ย่อส่วนลง ด้านจิตใจและร่างกายควรเป็นลักษณะที่เด่นชัดที่สุดของดัชชุนด์จิ๋วมิได้มีการแยกออกไปต่างหาก แต่เป็นกลุ่มของสุนัข สำหรับขนาดต่ำกว่า 10 ปอนด์ และ 12 เดือนขึ้นไป
the dog
วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553
วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553
สุนัข พันธุ์เชาเชา
เชา เชาเป็นสุนัขที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น มีประวัติศาสตร์สายพันธุ์มายาวนาน กว่า 2000 ปี สุนัขเชา เชา เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์มาสตีฟแห่งธิเบตและพันธุ์ชามอยจากตอนเหนือของไซบีเรีย แต่มีข้อโต้แย้งว่าเชา เชาอาจเป็นสุนัขพันธุ์แท้ดั้งเดิม เพราะเป็นเพียงสุนัขพันธุ์เดียวในโลกที่มีลิ้นสีดำปนน้ำเงินเชา เชาเริ่มมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษในปี 1880 โดยพระนางเจ้าวิคตอเรียทรงให้ความสนพระทัย สมาคมสุนัขพันธุ์เชา เชาได้ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในอังกฤษในปี 1895 สุนัขพันธุ์เชา เชามีความสามารถในการดมกลิ่นเป็นเลิศ มีความเฉลียวฉลาดในกลวิธีการล่าสัตว์ปัจจุบันสุนัขพันธุ์เชา เชาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ในบ้านเราจัดได้ว่าได้รับความนิยมอยู่ในเกณฑ์สูงและจัดได้ว่าเป็นสุนัขที่ค่อนข้างมีระดับ เหตุเพราะว่าเป็นสุนัขที่มีราคาค่อนข้างสูง จากการที่เชา เชามีขนหนาแน่นปกคลุมอยู่ทั่วตัว ทำให้ร่างกายอุ้มความร้อน ดั้งนั้นเชา เชาจึงชอบอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น ในสภาพอากาศที่ร้อนอย่างบ้านเรา มักจะทำให้เหนื่อยง่ายและเฉื่อยชา แต่อย่างไรก็ตามการที่เชา เชามีการขยายพันธุ์ในหลายๆ รุ่น ทำให้สามารถปรับสภาพกับอากาศในเมืองไทยได้พอสมควร มาตราฐานสายพันธุ์ ลักษณะทั่วไป : เชา เชาเป็นสุนัขที่เต็มไปด้วยพละกำลัง ลำตัวสั้นกระทัดรัด มีความแคล่วคล่องว่องไวและตื่นตัวอยู่เสมอ มีมัดกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและมีโครงสร้างที่สมดุลมาก ลำตัวเป็นสี่เหลี่ยม ศีรษะกว้างและแบน สันจมูกกว้างและสั้น มีขนขึ้นหนาแน่นโดยเฉพาะที่รอบคอ ขาใหญ่ตั้งตรงและแข็งแรง ขนมีความมันเป็นประกาย ลักษณะเด่นของเชา เชาคือ มีความเป็นเอกลักษณ์ มีความสง่างามและมีความเป็นธรรมชาติ เปรียบเสมือนกับเป็นราชสีห์ หน้าตาดุดันแข็งขัน สงบและว่างท่าอย่างสุขุมเป็นผู้ดี มีความเป็นอิสระและมีการตัดสินใจที่ดี ศีรษะ : มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดรูปร่าง มีกะโหลกศีรษะแบนกว้าง มีสต๊อปชัดเจน ลักษณะหน้าตาฉายแววของความทรนงองอาจ สันจมูกสั้นและกว้างเมื่อเทียบกับความยาวของกะโหลกจากตาจนถึงปลายจมูก ริมฝีปากเต็มและยื่น ฟัน : ฟันขาว แข็งแรง สบกันพอดี จมูก : จมูกใหญ่ กว้างและมีสีดำ ถ้าจมูกมีลายจุดหรือมีสีอื่นที่เห็นได้ชัดเจนนอกจากสีดำถือว่าขาดคุณสมบัติ ยกเว้นเชา เชาที่มีดำ, น้ำเงิน จมูกอาจมีสีน้ำเงินได้ ลิ้นมีสีดำออกน้ำเงิน เนื้อเยื่อในปากออกสีดำ ถ้าลิ้นมีสีชมพูแดงหรือมีจุดสีแดงจนเห็นได้ชัดเจนถือว่าขาดคุณสมบัติ ตา : มีสีดำขนาดปานกลาง รูปร่างเรียวคล้ายผลอัลมอนด์ ขอบตาสีดำ หู : ใบหูเล็ก ตรงปลายหูมีความโค้งมนเล็กน้อย หูแข็งตั้งขึ้น เอียงออกด้านข้างและด้านหน้าเล็กน้อย ถ้าหูตกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างถือว่าขาดคุณสมบัติ ลำตัว : สั้นกระทัดรัด มีซี่โครงผายออก ความสูงของลำตัวมีขนาดใกล้เคียงกับความยาวของลำตัว เส้นหลังตรงขนานกับพื้น คอ : ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ คอกลม มีความยาวพอเหมาะ แข็งแรง ทำให้ดูสง่างาม อก : กว้างและลึกเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อ ลึกจรดข้อศอก ถ้าอกแฟบถือว่าเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรง ขาหน้า : ขาหน้าตั้งตรง กระดูกมีขนาดใหญ่ มีมัดกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ข้อเท้าขาหน้าตั้งตรงตั้งฉากกับพื้น เท้าชี้ตรงไปข้างหน้าไม่บิดซ้าย - ขวา เท้ามีลักษณะหนากลม เท้าชิด เล็บตัดสั้น ขาหลัง : มีกระดูกใหญ่ ขาหลังท่อนบนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ มองจากด้านหลังขาหลังตรง และขนานห่างกันพอเหมาะ ข้อเท้าหลังตรงตั้งฉากกับพื้น มองจากด้านข้าง สะโพก หัวเข่าและข้อเท้าจะเป็นเส้นตรงเดียวกัน เท้าหลังมีลักษณะคล้ายเท้าหน้า เอว : มีขนาดสั้นและลึก ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ ขน-สี : มี 2 ชนิด คือ ชนิดขนสั้นและชนิดขนยาว มีขนที่ดกหนา เส้นขนเหยียดตรง ขนชั้นนอกค่อนข้างหยาบ ขนชั้นในนุ่ม มีสีสดใสและเป็นสีเดียวกันตลอด อาจมีเฉดสีแตกต่างออกไปเล็กน้อยตรงแผงคอ ที่หางและที่ก้น เชา เชามีสีดำ, สีเทา, สีแดง, สีครีม ที่สำคัญคือ เชา เชาต้องมีสีเดียวตลอดทั้งตัว หาง : โคนหางอยู่ในระดับสูง หางพาดแนบหลัง ส่วนสูงและน้ำหนัก : สูงประมาณ 17 - 20 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 24 - 27 กิโลกรัม การเคลื่อนไหว : มีความมั่นคง สง่างาม ขณะวิ่งขาตึง ยกเท้าไม่สูง คอเชิด
วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553
สุนัข พันธุ์ชิวาวา
ลักษณะทั่วไป : ชิวาวาเป็นสุนัขขนาดเล็กที่มีความฉลาดและจงรักภักดีต่อเจ้าของมาก มีทั้งพันธุ์สั้นและขนยาว ชิวาวาพันธุ์ขนสั้นมีต้นกำเนิดมาจากสุนัขสายพันธุ์ดั้งเดิม ส่วนสายพันธุ์ขนยาวเพิ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาภายหลัง ชิวาวาเป็นสุนัขที่มีโครงสร้างกระชับสมสัดส่วน ดูสง่างาม คล่องแคล่วว่องไวและตื่นตัวตลอดเวลา กะโหลกมีลักษณะกลม ความยาวลำตัวมากกว่าความสูงเล็กน้อย จมูกและปากสั้น ปลายจมูกค่อนข้างแหลม จมูกมีสีเข้มเข้ากับขนลำตัว ใบหูมีขนาดใหญ่ปลายหูค่อนข้างแหลมตั้งขึ้น ตาโตแต่ไม่ยื่นโปนออกมา นัยน์ตามีสีดำสนิทนิสัย : ชิวาวาเป็นสุนัขมีความฉลาดและจงรักภักดีต่อเจ้าของมา กเมื่อเทียบกับสุนัขพันธุ์อื่นๆ โดยปกติมักเป็นสุนัขที่เงียบสงบไม่ค่อยเห่าส่งเสียงร บกวน เว้นแต่จะถูกรบกวนหรือทำตกใจจึงจะเห่าเพื่อรักษาที่อ ยู่อาศัยของตัวเอง นอกจากนี้ยังมีนิสัยกล้าหาญมักจะยืนหยัดต่อสู้กับสุนัขตัวอื่นๆ ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กกว่า แต่ก็มีอัธยาศัยที่ดีกับสุนัขตัวอื่นหรือสัตว์เลี้ยง ชนิดอื่นๆขนาด :- ความสูง 16-20 (เซนติเมตร)- น้ำหนักตัว 2.5-2.7 (กิโลกรัม)ขน :- ชิวาวาพันธุ์ขนสั้น เส้นขนควรมีลักษณะอ่อนนุ่มและแนบติดกับลำตัวขนเป็นมั นแวววาว หากชิวาวาตัวโต จะมีขนขึ้นดกหนากว่าปกติ เพราะมีขนชั้นในด้วยไม่ถือว่าผิดมาตรฐานโดยปกติขนที่บริเวณลำตัวและคอ จะขึ้นหนาแน่นกว่าขนตามส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ส่วนขนที่บริเวณศีรษะและใบหูจะบางกว่าส่วนอื่น- ชิวาวาพันธุ์ขนยาว เส้นขนควรมีลักษณะอ่อนนุ่ม ขนเหยียดตรง หรือเป็นลอนเล็กน้อย แต่ห้ามหยิก ขนชั้นในจะมีหรือไม่มีก็ได้ ขนที่บริเวณใบหูจะต้องยาว แต่ถ้าขนยาวและดกมากหนาเกินไปจนห้อยปรกลงมาครอบใบหู ควรตัดเล็มออกสำหรับขนที่บริเวณขาอุ้งเท้า และบริเวณด้านหลังของสะโพกควรมีเส้นเล็กบาง ส่วนขนที่บริเวณลำคอและหางควรมีลักษณยาวและฟูสี : ของขนที่บริเวณหางควร มีสีกลมกลืนกับสีของขนบนตัว- สำหรับชิวาวาขนสั้น ขนที่บริเวณหางควรมีลักษณะยาวและอ่อนนุ่มกว่าขนบนตัว- ส่วนชิวาวาพันธุ์ขนยาว ขนที่บริเวณหางควรมีลักษณะยาวและอ่อนนุ่มศีรษะ : กะโหลกศีรษะควรกลมคล้ายผลแอปเปิ้ลตั้งกลับหัว ผิวหนังตรงบริเวณกรามและแก้ม ควรตอบแนบติดกับกระดูกหู : ใบหูควรมีขนาดใหญ่ ปลายหูค่อยข้างแหลม ในยามที่สุนัขเกิดความตื่นตัวหรือกำลังให้ความสนใจกั บสิ่งหนึ่งสิ่งใด ใบหูควรตั้งชัน แต่ในยามปกติใบหูทั้ง 2 ข้างควรตั้งถ่างออกจากกันโดยฐานใบหูทำมุมเฉียง 45 องศา กับกะโหลกศีรษะ สำหรับชิวาวาพันธุ์ขนยาว บริเวณหลังใบหูควรมีขนยาว ปกคลุมถ้าหากขนขึ้นที่ใบหูดกหนามากเกินไปอาจเล็มแต่เ พื่อความสวยงามไดแต่ถ้าใบหูห้อยปรกลงมาถือว่าบกพร่องตา : ตาโตแต่ไม่ควรยื่นโปนออกมามาก ตาทั้ง 2 ข้างควรมีขนาดเท่าๆกัน และตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากกันในระดับพอเหมาะ นัยน์ตาควรมีสีดำสนิทส่องประกายแวววาว แต่สำหรับชิวาวาที่มีขนสีครีมออกเหลือง หากนัยน์ตามีสีจางอนุโลมได้ จมูก จมูกปากควรสั้น ปลายจมูกปากค่อนข้างกลม สีของจมูกควรมีสีเข้ากับสีของขนบนลำตัว สำหรับชิวาวาที่มีขนสีครีมออกเหลือง หากจมูกมีสีชมพูถือว่าพออนุโลมได้ซึ่งจุดนี้จะแตกต่า งจากสุนัขพันธุ์อื่นๆ เพราะโดยส่วนใหญ่ หากสุนัขมีจมูกสีชมพู ถือว่าเป็นข้อบกพร่องร้ายแรงมากฟัน : ฟันหน้าควรขนกันได้สนิทเหมือนกรรไกร โดยฟันบนเกยอยู่ด้านนอก แต่ถ้าฟันแถวล่างเกยอยู่ด้านนอก หรือฟันบนขบเกยอยู่ด้านนอก แต่ขบฟันล่างไม่สนิทหรือฟันขาด หรือฟันขึ้นไม่เป็นระเบียบล้วน ถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรงทั้งสิ้นคอและหัวไหล่ : ลำคอควรมีลักษณะเป็นเส้นโค้งสวยงาม ลาดเทเข้าหาหัวไหล่เล็กน้อย สำหรับชิวาวาพันธุ์ขนสั้น ความสวยงามของลำคอถือเป็นเรื่องสำคัญมากเนื่องจากมอง เห็นได้อย่างชัดเจน เพราะไม่มีขนมาบดบัง ส่วนชิวาวาพันธุ์ขนยาว ขนที่บริเวณลำคอควรยาวแต่ไม่ถึงกับยาวและดกหนามาก หัวไหล่ที่ดีควรมีลักษณะราบเรียบและค่อยๆขยายออกกว้า ง รับกับขาหน้าทั้ง 2 ข้าง กระดูกหัวไหล่ควรลาดเทลงหาแผ่นหลังอก : ควรลึก และกว้าง แต่ไม่ต้องถึงกับเท่าพันธุ์บลูด็อก แผ่นหลังและลำตัวแผ่นหลัง ควรมีลักษณะเป็นเส้นตรงขนานกับพื้น ความยาวของลำตัวมีมากกว่าความสูงเล็กน้อย โดยปกติชิวาวาเพศผู้จะมีลำตัวที่สั้นกว่าเพศเมีย โครงสร้างลำตัวมีลักษณะค่อนข้างกลม ไม่แบน แต่ก็ไม่ถึงกลมเหมือนถังเบียร์ลำตัว : ครึ่งท่อนหลังจะต้องเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อ ข้อศอกขาหลังเวลายืนตั้งอยู่ห่างจากกันในระดับพอเหมา ะ ข้อศอกไม่ควรบิดเข้าหากัน เวลาที่สุนัขเดินหรือวิ่งแลดูแข็งแรง เท้าไม่ปัดหาง : ต้องยาวพอเหมาะ หางควรตั้งและมีลักษณะโค้งคล้ายหางของสุนัขไทยหางดาบ ในกรณีที่สุนัขมีหางม้วน อนุโลมให้ปลายหางม้วนแตะแผ่นหลังได้ แต่ห้ามเลยระดับแผ่นหลังลงมาขาและเท้า : ขาควรเหยียดตรงและตั้งขนานกัน อุ้งเท้าควรมีขนาดเล็ก นิ้วเท้าแยกออกจากกัน แต่ไม่ถึงกับกางแบะออกเหมือนตีนเป็ด อุ้งเท้าคล้ายกับอุ้งเท้าของสุนัขพันธุ์บลูด็อก ซึ่งจะแตกต่างจากอุ้งเท้าของสุนัขพันธุ์อื่นๆ ซึ่งโดยมากมีอุ้งเท้ากระชับสี : สีขนอาจมีได้หลายสี ไม่มีข้อจำกัด อาจเป็นสีเดียวกันทั้งตัวหรืออาจมีมาร์คกิ้งหรือสีด่ างก็ได้ สีขนมีได้ไม่จำกัด อาจเป็นสีเดียวทั้งตัวหรือมี มาร์คกิ้งหรือมีสีต่างๆก็ได้
วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553
สุนัข พันธุ์บางแก้ว
ชมรมผู้อนุรักษ์และพัฒนาสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว จ.พิษณุโลก เป็นหน่วยงานแรก ๆ ที่ได้ประชุม ตกลงร่างมาตรฐานหมาบางแก้วขึ้นมา (ในปี พ.ศ. 2534ป และได้ถือเป็นแบบอย่างมาเท่าทุกวันนี้ หมาบางแก้วจะเดินหรือวิ่งเหยาะ ๆ ท่วงท่าสวยงาม ปกติจะวิ่งซอยเท้าถี่ ๆ สง่างาม บางตัวเวลาเดินเห็นแผงขนบนสันหลังยกขึ้นดูสง่างามเฉกเช่นม้าย่างเท้าสวนสนาม ขึ้นชื่อมากเรื่องความดุ มีความซื่อสัตย์ต่อเจ้าของ รักและหวงเจ้าของ ไม่ชอบคนแปลกหน้า มีความสามารถในการดมกลิ่นเป็นเลิศ จำเสียงได้ แม่นยำ กินอาหารง่าย มีความกล้าหาญ กล้าที่จะสู้กับสุนัขที่ตัวโตกว่า มีประสาทตื่นอยู่เสมอแม้นอนหลับ เป็นสุนัขที่ชอบเล่นน้ำ เมื่อหมอบข้อศอกจะแนบกันพื้นและเท้าหลังจะแบออกทั้งสองข้าง ก่อนจะกินน้ำในอ่าง ชอบเอาเท้าหน้าข้างหนึ่งข้างใดจุ่มลงไปในอ่างก่อน เวลาขู่จะเหยียดขาหน้าพุ่มไปข้างหน้า แล้วผงกหัวและแผงขนหลังตั้งขึ้นพร้อมกับส่งเสียงขู่ ชอบกินเนื้อสัตว์และปลา เนื่องจากหมู่บ้านบางแก้ว อาชีพหลักของชาวบ้านแถบนั้นคือจับปลา ค้าปลาน้ำจืด และเลี้ยงสุนัขไว้บนแพ อาหารที่ได้จึงหลีกไม่พ้นปลา แต่อาหารอื่นก็กินได้เช่นกันหัวกะโหลก กะโหลกใหญ่ ปากยาวแหลม คอยาวกว่าหมาไทยทั่วไป กะโหลกศีรษะและปากรับกันเป็นรูปสามเหลี่ยม หูเล็กสั้นตั้งป้องไปข้างหน้า ปลายหูเบนออกข้างเล็กน้อย โคนหูทั้งสองอยู่ห่างกันมากกว่าหมาไทยหลังอาน จึงใช้เป็นจุดเด่นในการสังเกตว่าเป็นหมาบางแก้ว ตาเล็กกลมรี พื้นสีตาเป็นสีเหลืองทองคล้ำ ม่านตาตรงกลางสีดำ มีแววของความไม่เชื่อใจใครง่าย ๆ ขณะโกรธหรือขู่จะขึ้นแววฟ้าใส แววที่เรียกว่า "ตาเขียว" จมูกสีดำ ฟันซี่เล็กขาวคม มีเขี้ยวข้าบน 2 ล่าง 2 ลิ้นเป็นสีชมพู ส่วนมากไม่มีปากดำเหมือนหมาไทยหลังอานหู มี 2 ลักษณะ คือ ถ้าหากใบหูใหญ่ปลายหูกลมมน ภายในหูมีขนปกคลุมปิดรูหูเป็นลักษณะของหูสุนัขจิ้งจอก แต่ถ้าหูเล็กสั้นมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ตั้งป้องตรงไปข้างหน้า ปลายหูเบนออกไปทางด้านข้างเล็กน้อย จะเป็นลักษณะของหูหมาไน ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก หูของหมาบางแก้วส่วนมากที่ขอบใบหูจะมีลักษณะเป็นสันเล็ก ๆ มีขนอ่อนปกคลุมอยู่ภายในหู และที่กกหูด้านนอกจะมีขนปุยนุ่มปกคลุมมากบ้างน้อยบ้างตา มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมคล้ายตาเสือ ที่ทำเป็นเซื่องซึม แต่เมื่อเจอะเจอคนแปลกหน้าจะมีแววดุวาวและเขียวปั๊ดปาก ปากแหลมเรียวกว่าสุนัขไทยทั่ว ๆ ถ้าหากมองจากหน้าหน้าจะสังเกตเห็นว่าหัวกะโหลกลงมายังปากจะแคบสอบลงไปเรื่อย ๆ คล้ายกับสามเหลี่ยม ถ้าหากสีของลำตัวด่างแดงสนิมกับขาวหรือดำขาวบริเวณปากจะมีสีขาวผ่านตลอดใต้คางที่ปลายปาก ซึ่งคล้ายคลึงกับลักษณะของสุนัขจิ้งจอกและหมาไน ซึ่งคนไทยโบราณเรียกว่า ปากคาบแก้ว ถ้าเป็นสีปลอดมักจะไม่มี ฟันแข็งแรง เขี้ยวเล็ก แหลมคม
คอ ใหญ่ หนา และแข็งแรงมาก เมื่อโตเป็นหมาหนุ่มสาวจะต้องใช้โซ่และปลอกคอที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง เพราะเวลากระโดดหรือกระชากจะได้ไม่ขาดง่ายหาง โคนหางใหญ่ โค้งงอไปข้างหน้า ถ้าปลายคางจรดกลางหลังไม่ไพล่ไปข้างใดข้างหนึ่งของลำตัวจะสวยงามมาก ขนที่หางจะยาวตั้งเป็นพุ่มกระจายเป็นพวงโค้งไปข้างหน้า ปลายหางจรดหลัง หางที่ขอดเป็น วงกลมหรือหางที่มีลักษณะอื่นๆ มิได้หมายความว่าไม่ถูกต้องตามลักษณะของหมาบางแก้ว ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของหางที่โค้งงอไปบนหลังนั้นเป็นลักษณะเด่นทางพันธุกรรมของหมาไทย ส่วนหางที่มีลักษณะเป็นพุ่มพวงนั้นเป็นลักษณะเด่นทางพันธุกรรมของหมาไนและหมาจิ้งจอก ด้วยเหตุผลดังกล่าวหมาพันธุ์ บางแก้วส่วนมากจังมีหางโค้งเป็นครึ่งวงกลมหรือวงกลม แต่เป็นพวงสวยงามซึ่งพอสรุปลักษณะเด่นของหากได้ 3 แบบ คือ 1. หางตั้งโค้งไปข้างหน้า บางตัวหางจะเหยียดตรงวางทาบไปบนหลัง 2. หางพุ่งไปด้านหลังแล้วโค้งตั้งขึ้นเหมือนหางดาบ ถ้าหางยาวจะโค้งมาจรดหลัง ถ้ายาวมากจะเบี่ยงลงข้าง ถ้าหางเป็นพวงใหญ่มีน้ำหนักมาก หางจะไพล่ห้อยลงข้างตัว ซึ่งส่วนใหญ่หมาบางแก้วจะมีหางลักษณะนี้ 3. หางเป็นพวงลาดแบบแทงดิน ยาวห้อยลงอย่างหางม้า เวลาดีใจ เมื่อเดินทางหรือวิ่งจะ แกว่งหางไปมา เวลายืนหากมั่นใจว่าปลอดภัยจะยกหางสูงขึ้นเลยระดับตัวเล็กน้อย เรียกว่าหางจิ้งจอกขน เนื่องจากหมาบางแก้วเป็นลูกผสมที่มี 3 สายเลือด คือ หมาใน หมาจิ้งจอก และหมาไทยพื้นบ้าน ลักษณะสีขนจึงมีสีดังต่อไปนี้คือ สีน้ำตาลแก่สีขาวปลอด สีดำปลอด สีด่างขาวน้ำตาล สีด่างขาว-ดำ และ สีนาค ซึ่งปัจจุบันนี้คงจะสูญพันธุ์ไปแล้ว หมาบางแก้วยังมีลักษณะเด่นอยู่อย่างหนึ่งคือจะมีจุดแต้มตามลำตัว และที่ขา ถ้าสุนัขสีดำ-ขาว จุดแต้มก็จะมีสีน้ำตาลแดงขนตามลำตัว มีลักษณะเป็นขนสองชั้น ชั้นแรกเป็นขนตามลำตัว เป็นขนที่สั้นและอ่อนนุ่มและหนากว่าขนชั้นที่ 2 ขนชั้นที่ 2 เป็นขนเส้นยาว ๆ เริ่มต้นจากท้ายทอย ผ่านต้นคอแผ่กระจายลงไปถึงหนอกหลัง กลางหลัง และโคนหาง บริเวณนี้มีลักษณะคล้ายอานม้า ขนที่บริเวณอกค่อนข้างหนาคล้ายแผงคอ ขนที่สีข้างค่อนข้างยาว สำหรับลูกสุนัขที่มีอายุประมาณ 1-2 เดือน มักจะมีขนหนาปุกปุยและเส้นละเอียดอ่อนนุ่มมือขาหลัง จะขนานกัน เอนลาดไปข้างหลังเล็กน้อย บริเวณแก้วก้นหรือต้นขาส่วนใหญ่จะมีขนยาวปุกปุยคล้ายปุยนุ่นปกคลุมบริเวณแก้มก้นและแถบใต้โคนหาง เวลาเคลื่อนไหวจะรับกับหางที่ปัดไปปัดมาขา ขาหน้าเหยียดตรงขนานกัน แต่ค่อนข้างใหญ่กว่าขาหลัง และใหญ่กว่าหมาไทยทั่วๆ ไป บริเวณโคนขาส่วนที่ติดกับลำตัวจะมีขนเส้นยาว ๆ ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า "ขาสิงห์"นิ้ว ชิดติดกันที่นิ้วของหมาที่อายุน้อยจะมีขนยาวปกคลุมคล้ายนิ้วเท้าของสุนัขจิ้งจอก ซึ่งต่างกับหมาไทยทั่ว ๆ ไปที่อายุยังน้อย ๆ อยู่นั้น ขนที่นิ้วเท้าจะไม่ยาว จะเริ่มยาวเมื่อมีอายุมากขึ้น เวลาเดินมักจะโหย่งเท้าท้อง ลักษณะท้องจะไม่คอดกิ่วเหมือนหมาไทยทั่วๆ ไป ลำตัวค่อนข้างจะกลมและหนากว่าหมาไทย แต่อกไม่ลึกเท่ากับหมาไทยทั่ว ๆ ไปหลัง ค่อนข้างจะแบนขนาด ตัวผู้สูงประมาณ 45-53 เซนติเมตร (19-21 นิ้ว) ตัวเมียสูงประมาณ 43-48 เซนติเมตร (17-19 นิ้ว) ตัวผู้หนักประมาณ 14-16 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 13-15 กิโลกรัมสี มีหลายสี เช่น สีด่างขาว-ดำ, สีขาว-น้ำตาล, สีขาว-เทาลักษณะทั่วไป เป็นสุนัขขนาดกลาง รูปทรงตั้งแต่ช่วงขาหน้าถึงขาหลังเป็นสามเหลี่ยมจัตุรัส อกกว้างและลึกได้ระดับกับข้อศอก ไหล่กว้าง ท้องไม่คอดกิ่ว ปากแหลม หูเล็ก หางพวง ขนมี 2 ชั้น รักเจ้าของ ฉลาด ปราดเปรียว กล้าหาญ ค่อนข้างดุ สามารถฝึกใช้งานได้ ชอบเล่นน้ำมาก และเกลือกโคนตมข้อบกพร่อง ใบหูพลิ้ว ไม่มีขนแผลรอบคอ ขาหน้าเล็ก ไม่มีแข้งสิงห์ ไม่มีขนคลุมนิ้ว เท้า หูใหญ่ หางขอด ขนหลุดร่วง ฟังบนยื่นกว่าฟันล่างหรือฟันล่างยื่นกว่าฟันบน ปากใหญ่ ตาใหญ่ หูไม่ตั้ง หางไม่เป็นพวง ขนสั้น อัณฑะเม็ดเดียว ฟันหัก 3 ซี่ขึ้นไป โดยไม่ใช่เพราะอุบัติเหตุ หางขาด ปากหู่ ตากลม เส้นหลังแอ่น
คอ ใหญ่ หนา และแข็งแรงมาก เมื่อโตเป็นหมาหนุ่มสาวจะต้องใช้โซ่และปลอกคอที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง เพราะเวลากระโดดหรือกระชากจะได้ไม่ขาดง่ายหาง โคนหางใหญ่ โค้งงอไปข้างหน้า ถ้าปลายคางจรดกลางหลังไม่ไพล่ไปข้างใดข้างหนึ่งของลำตัวจะสวยงามมาก ขนที่หางจะยาวตั้งเป็นพุ่มกระจายเป็นพวงโค้งไปข้างหน้า ปลายหางจรดหลัง หางที่ขอดเป็น วงกลมหรือหางที่มีลักษณะอื่นๆ มิได้หมายความว่าไม่ถูกต้องตามลักษณะของหมาบางแก้ว ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของหางที่โค้งงอไปบนหลังนั้นเป็นลักษณะเด่นทางพันธุกรรมของหมาไทย ส่วนหางที่มีลักษณะเป็นพุ่มพวงนั้นเป็นลักษณะเด่นทางพันธุกรรมของหมาไนและหมาจิ้งจอก ด้วยเหตุผลดังกล่าวหมาพันธุ์ บางแก้วส่วนมากจังมีหางโค้งเป็นครึ่งวงกลมหรือวงกลม แต่เป็นพวงสวยงามซึ่งพอสรุปลักษณะเด่นของหากได้ 3 แบบ คือ 1. หางตั้งโค้งไปข้างหน้า บางตัวหางจะเหยียดตรงวางทาบไปบนหลัง 2. หางพุ่งไปด้านหลังแล้วโค้งตั้งขึ้นเหมือนหางดาบ ถ้าหางยาวจะโค้งมาจรดหลัง ถ้ายาวมากจะเบี่ยงลงข้าง ถ้าหางเป็นพวงใหญ่มีน้ำหนักมาก หางจะไพล่ห้อยลงข้างตัว ซึ่งส่วนใหญ่หมาบางแก้วจะมีหางลักษณะนี้ 3. หางเป็นพวงลาดแบบแทงดิน ยาวห้อยลงอย่างหางม้า เวลาดีใจ เมื่อเดินทางหรือวิ่งจะ แกว่งหางไปมา เวลายืนหากมั่นใจว่าปลอดภัยจะยกหางสูงขึ้นเลยระดับตัวเล็กน้อย เรียกว่าหางจิ้งจอกขน เนื่องจากหมาบางแก้วเป็นลูกผสมที่มี 3 สายเลือด คือ หมาใน หมาจิ้งจอก และหมาไทยพื้นบ้าน ลักษณะสีขนจึงมีสีดังต่อไปนี้คือ สีน้ำตาลแก่สีขาวปลอด สีดำปลอด สีด่างขาวน้ำตาล สีด่างขาว-ดำ และ สีนาค ซึ่งปัจจุบันนี้คงจะสูญพันธุ์ไปแล้ว หมาบางแก้วยังมีลักษณะเด่นอยู่อย่างหนึ่งคือจะมีจุดแต้มตามลำตัว และที่ขา ถ้าสุนัขสีดำ-ขาว จุดแต้มก็จะมีสีน้ำตาลแดงขนตามลำตัว มีลักษณะเป็นขนสองชั้น ชั้นแรกเป็นขนตามลำตัว เป็นขนที่สั้นและอ่อนนุ่มและหนากว่าขนชั้นที่ 2 ขนชั้นที่ 2 เป็นขนเส้นยาว ๆ เริ่มต้นจากท้ายทอย ผ่านต้นคอแผ่กระจายลงไปถึงหนอกหลัง กลางหลัง และโคนหาง บริเวณนี้มีลักษณะคล้ายอานม้า ขนที่บริเวณอกค่อนข้างหนาคล้ายแผงคอ ขนที่สีข้างค่อนข้างยาว สำหรับลูกสุนัขที่มีอายุประมาณ 1-2 เดือน มักจะมีขนหนาปุกปุยและเส้นละเอียดอ่อนนุ่มมือขาหลัง จะขนานกัน เอนลาดไปข้างหลังเล็กน้อย บริเวณแก้วก้นหรือต้นขาส่วนใหญ่จะมีขนยาวปุกปุยคล้ายปุยนุ่นปกคลุมบริเวณแก้มก้นและแถบใต้โคนหาง เวลาเคลื่อนไหวจะรับกับหางที่ปัดไปปัดมาขา ขาหน้าเหยียดตรงขนานกัน แต่ค่อนข้างใหญ่กว่าขาหลัง และใหญ่กว่าหมาไทยทั่วๆ ไป บริเวณโคนขาส่วนที่ติดกับลำตัวจะมีขนเส้นยาว ๆ ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า "ขาสิงห์"นิ้ว ชิดติดกันที่นิ้วของหมาที่อายุน้อยจะมีขนยาวปกคลุมคล้ายนิ้วเท้าของสุนัขจิ้งจอก ซึ่งต่างกับหมาไทยทั่ว ๆ ไปที่อายุยังน้อย ๆ อยู่นั้น ขนที่นิ้วเท้าจะไม่ยาว จะเริ่มยาวเมื่อมีอายุมากขึ้น เวลาเดินมักจะโหย่งเท้าท้อง ลักษณะท้องจะไม่คอดกิ่วเหมือนหมาไทยทั่วๆ ไป ลำตัวค่อนข้างจะกลมและหนากว่าหมาไทย แต่อกไม่ลึกเท่ากับหมาไทยทั่ว ๆ ไปหลัง ค่อนข้างจะแบนขนาด ตัวผู้สูงประมาณ 45-53 เซนติเมตร (19-21 นิ้ว) ตัวเมียสูงประมาณ 43-48 เซนติเมตร (17-19 นิ้ว) ตัวผู้หนักประมาณ 14-16 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 13-15 กิโลกรัมสี มีหลายสี เช่น สีด่างขาว-ดำ, สีขาว-น้ำตาล, สีขาว-เทาลักษณะทั่วไป เป็นสุนัขขนาดกลาง รูปทรงตั้งแต่ช่วงขาหน้าถึงขาหลังเป็นสามเหลี่ยมจัตุรัส อกกว้างและลึกได้ระดับกับข้อศอก ไหล่กว้าง ท้องไม่คอดกิ่ว ปากแหลม หูเล็ก หางพวง ขนมี 2 ชั้น รักเจ้าของ ฉลาด ปราดเปรียว กล้าหาญ ค่อนข้างดุ สามารถฝึกใช้งานได้ ชอบเล่นน้ำมาก และเกลือกโคนตมข้อบกพร่อง ใบหูพลิ้ว ไม่มีขนแผลรอบคอ ขาหน้าเล็ก ไม่มีแข้งสิงห์ ไม่มีขนคลุมนิ้ว เท้า หูใหญ่ หางขอด ขนหลุดร่วง ฟังบนยื่นกว่าฟันล่างหรือฟันล่างยื่นกว่าฟันบน ปากใหญ่ ตาใหญ่ หูไม่ตั้ง หางไม่เป็นพวง ขนสั้น อัณฑะเม็ดเดียว ฟันหัก 3 ซี่ขึ้นไป โดยไม่ใช่เพราะอุบัติเหตุ หางขาด ปากหู่ ตากลม เส้นหลังแอ่น
วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553
สุนัขพันธุ์ โกลเด้นรีทริฟเวอร์
สุนัขพันธุ์ โกลเด้นรีทริฟเวอร์หนึ่งในความนิยมสูงสุดของบรรดาคนรักหมา ของเราๆท่าน มิอาจปฏิเสธได้ว่ามี สุนัขพันธุ์ โกลเด้นรีทรีฟเวอร์อยู่ด้วย เพราะด้วยความฉลาด น่ารัก สุภาพ รักธรรมชาติ บวกกับความซุกซนขี้เล่นของสุนัขพันธุ์นี้แล้ว ต้องยอมรับกันจริงๆว่า คุณโกลเด้น คุณเยี่ยมมาก....ความสูงสำหรับสุนัขโกลเด้น เพศผู้ จะอยู่ระหว่าง 23-24 นิ้ว ส่วนเพศเมียนั้นอยู่ระหว่าง 21.5-22.5 นิ้ว หากสุนัขของคุณมีส่วนสูงเกินหรือต่ำกว่าหนึ่งนิ้วของความสูงมาตรฐานที่กำหนดไว้ถือว่าเป็นข้อบกพร่องสำหรับสุนัข (ข้อกำหนดของ AKC-American Kennel Club)แต่ก็ไม่ผิดที่จะเลี้ยงดูไว้ทางด้านน้ำหนักตัวนั้น เพศผู้ อยู่ที่ 29.5-34 กิโลกรัม สำหรับเพศเมีย อยู่ที่ 25 – 29.5 กิโลกรัม จะเห็นได้ว่า โกลเด้นนั้นจัดอยู่ในสุนัขรูปร่างพอเหมาะไม่มีขนาดโตหรือเล็กจนเกินไป ดังนั้นการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับสุนัขพันธุ์นี้เพราะโกลเด้นรีทรีฟเวอร์มีคุณสมบัติในความไว การตื่นตัว ดูกระชับกระเชงไม่ชอบทำหน้าขี้เกียจหน้าตามีความเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา นี้เรียกว่าเป็นจุดเด่นหลักๆของสุนัขพันธุ์นี้ทีเดียวหากบ้านคุณมีบริเวณพอสมควรหรือมีที่ที่ซึ่งสามารถพาเขาไปเดินออกกำลังกายและทำกิจกรรมอื่นๆได้ก็สมควรที่จะรับสุนัขพันธุ์นี้ไว้พิจารณา โกลเด้นชอบเล่นน้ำเป็นชีวิตจิตใจ นี้คงเป็นเพราะโกลเด้นรีทรีฟเวอร์ถูกพัฒนาสายพันธุ์มาเพื่อเกมส์กีฬาล่าสัตว์ ไว้คอยเก็บเหยี่อที่ถูกยิงจำพวกนกหรือพวกเป็ดน้ำในสมัยนั้น จวบจนถึงทุกวันนี้ก็ยังเป็นนิสัยส่วนหนึ่งของสุนัขพันธุ์นี้ไปแล้ว เห็นน้ำเป็นไม่ได้ ชอบไปแช่และเล่นน้ำเป็นประจำ ยิ่งอากาศในเมืองไทยร้อนๆอยู่ด้วย สนุกทีเดียวสำหรับเขาหละโกลเด้นจัดอยู่ในประเภทสุนัขที่มีขนยาว ดังนั้นการดูแลขนคอยหวีคอยแปรงจึงต้องทำอยู่เป็นประจำๆถ้าหากคุณต้องการสุนัขที่มีขนสวยงามอยู่ตลอดเวลาการดูแลเอาใจใส่จึงเป็นสิ่งสำคัญ แชมพูดีๆ ไวตามินบำรุงต่างๆ จึงควรมีไว้ประจำบ้านหมาตัวใหญ่ปริมาณการบริโภคก็มากขึ้นตามตัว เพราะฉนั้นหากคิดจะเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้แล้วต้องมีการวางแผนหรือวางระบบที่ดี ว่าเวลาเมื่อไหร่ควรกิน เวลาเมื่อไหร่ควรออกกำลังกาย เป็นต้น ที่กล่าวมาแล้วต้องทำเป็นประจำทุกวัน สุนัขของคุณถึงจะมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่สมบูรณ์ เคยเห็นสุนัขโกลเด้นที่เลี้ยงตามบ้านหลายตัวมีขนาดตัวเล็กกว่ามาตราฐานมาก ขนดูสั้นและหยาบกระด้าง น้ำลายยืดอยู่ตลอดเวลาก็มี ความสง่างามแววตาขี้เล่น ฉลาด ได้หายไปจากตัวเสียหมดแล้ว ผิดกับบางตัวที่เคยเห็นรูปร่างสมส่วนสุขภาพขนดูสวยงาม บ่งบอกถึงความเอาใจใส่ของเจ้าของได้เป็นอย่างดี ดูแล้วน่าชมเชยเป็นอย่างยิ่ง โบราณเขาบอกว่า”ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ในขณะที่ ดูนางให้ดูแม่ แต่ที่แน่ๆอยากรู้จักนิสัยเจ้าของหมาก็ให้ดูที่หมาพันธุ์โกลเด้นที่เลี้ยงไว้” หรือคนที่เลี้ยงหมาพันธุ์นี้ว่าไม่จริง.........ไปดีกว่า!
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)