ดัชชุนด์ (Dachshund)สุนัขดัชชุนด์ เป็นสุนัขที่อยู่ในกลุ่มฮาวด์มีรูปร่างที่กระทัดรัด ฉลาด ขี้ประจบ ลำตัวยาวดูแปลกตาจึงเป็นที่รู้จักกันในนาม "สุนัขไส้กรอก" ชื่อดัชชุนด์ (dachs หมายถึงสัตว์ชนิดหนึ่ง hund หมายถึงสุนัข ) ปรากฎในหนังสือเกี่ยวกับการล่าสัตว์ในยุโรปสมัยกลาง เป็นสุนัขที่มีความคล้ายคลึงสุนัขฮาวด์ในการแกะรอย และมีรูปร่างและอารมณ์คล้ายสุนัขเทอร์เรียร์ มีความสามารถในการติดตามตัวแบดเจอร์ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ใต้ดินและมักจะออกมาหาอาหารตอนกลางคืน จึงมักถูกเรียกว่าสุนัขแบดเจอร์ด้วยความแข็งแรงและทรหด บวกกับความฉลาดและกล้าหาญ ทั้งบนและใต้พื้นดิน สุนัขดัชชุนด์หลายตัวรวมกันสามารถเข้าต่อกรกับหมีป่าได้อย่างสบาย ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้จึงมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อใช้ในเกมล่าสัตว์แบบอื่นๆ สุนัขดัชชุนด์ขนาดเล็กที่มีน้ำหนัก 16 - 22 ปอนด์ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับสุนัขจิ้งจอก และในการแกะรอยกวางที่ได้รับบาดเจ็บ สุนัขขนาดนี้ได้กลายมาเป็นที่รู้จักกันดีในอเมริกา สุนัขที่มีขนาดเล็กกว่า โดยมีน้ำหนัก 12 ปอนด์ ถูกนำมาใช้ล่าสัตว์ป่าชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า "Stoat" มีขนาดเล็ก มีขนสีน้ำตาล อาศัยอยู่ในยุโรปตอนเหนือการนำเข้าสุนัขพันธุ์ดัชชุนด์มายังประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นมาก่อนการจัดโชว์สุนัขอเมริกาครั้งแรก สุนัขที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกใช้ในการล่าสัตว์น้อยมากเพราะว่าไม่ค่อยมีตัวแบดเจอร์และหมีป่า และไม่มีการล่ากวางด้วยสุนัข รวมทั้งไม่มีการล่าสุนัขจิ้งจอกด้วยการดมกลิ่น ลักษณะและรูปร่างที่ถูกต้องของสายพันธุ์ได้รับการส่งเสริม โดยการนำเข้าสายพันธุ์ที่ใช้ในการล่าสัตว์ของเยอรมันและเพื่อส่งเสิรมความสามารถในการล่าสัตว์ รวมถึงรูปร่างและอารมณ์ที่ดีเลิศ ความสามารถในภาคสนามตามกฎของ AKC ได้รับการกำหนดขึ้นในปี 1935ลักษณะพิเศษของสายพันธุ์ มีศีรษะที่ยาว และจมูกที่มีการพัฒนาอย่างดี กระดูกเชิงกรานและกระดูกขาได้มุมอย่างเหมาะสมท่าทางการเดินก่อให้เกิดช่องว่าง ขนาดใหญ่สำหรับปอดและหัวใจ แต่ไม่กว้างจนเกินไป ผิวหนังยืดหยุ่นและอ่อน สำหรับการเคลื่อนที่อย่างอิสระในพื้นที่จำกัดใต้ดิน ขากรรไกรที่ค่อนข้างยาวและมีพละกำลังพร้อมฟันที่แข็งแรง คอยาวและแข็งแรงเสมือนเป็นข้อมือของนักดาบ ขาทรงพลังและเท้าที่แข็งแรงเพื่อการขุดดิน และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดความกล้าหาญอันสูงล้ำ ที่ทำให้ตอบสนองต่อการเข้าโจมตีหรือการป้องกันโดยปราศจากการทะเลาะวิวาท หรือการก้าวร้าวที่ไม่พึงปรารถนาสุนัขดัชชุนด์ ซึ่งเด่นที่สุดในอเมริกามีขนาดเล็กเพียงพอที่จะอาศัยอยู่ในบ้านหรืออพาร์ทเมนต์ แม้กระนั้นก็มีขนาดใหญ่เพียงพอสำหรับพาไปเดินตามท้องถนน การที่มีขาสั้น รูปร่างเพรียว ขนสั้นจึงไม่ต้องการการถอนขน การตัดแต่งขน การแปรงขน การหวี การใส่น้ำมัน และไม่ต้องอาบน้ำ เว้นแต่เพื่อชำระล้างความสกปรกที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญเท่านั้นเมื่ออยู่นอกอาคาร ดัชชุนด์มีความทรหดแข็งแรง ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เมื่ออยู่ในอาคารเขาจะแสดงความรักความอบอุ่นและตอบสนองต่อความเป็นเพื่อนที่ดี ตื่นตัวในการที่จะบอกให้เราทราบเมื่อมีคนแปลกหน้าเข้ามาสายพันธุ์มีขน 3 ประเภทให้เลือก มีขนาดมาตรฐานและเล็กจิ๋ว มีสีแดง สีดำ สีแทนและสีอื่นๆลักษณะพิเศษของขนที่แตกต่างกัน 3 ชนิด1. ขนสั้น (หรือขนเรียบ) 2. ขนลวด 3. ขนยาว ซึ่ง ทั้ง 3 ชนิดนี้ควรเป็นไปตามลักษณะมาตรฐานที่ได้กล่าวมาแล้ว ขนยาวและขนสั้นเป็นชนิดที่มีมานาน เป็นพันธุ์ที่อยู่ตัวดีแล้ว แต่ในชนิดลวด เลือดของพันธุ์อื่น ได้ผสมเข้ามาอย่างมีวัตถุประสงค์ แม้กระนั้นในการผสมพันธุ์สิ่งเน้นที่สำคัญที่สุดต้องอยูที่การให้เป็นไปตามชนิดของดัชชุนด์ทั่วไป ลักษณะดังต่อไปนี้ นำมาใช้แยกชนิดกันตามลำดับ ประเภทของดัชชุนด์ 1. ดัชชุนด์ขนสั้นและเรียบ ขน สั้น หนา เรียบ และมีประกาย ไม่มีบริเวณที่ขนหลุดล่วงเหลือแต่หนัง ข้อบกพร่องพิเศษ คือขนละเอียด,บาง,หยาบเหลือหนาเกินไปหางค่อยๆ เรียวเล็กลงทีละน้อยไปทางปลายหาง มีขนดีแต่ไม่ถึงกับดกมาก ยาวเรียว ขนหนาหยาบที่ด้านล่างถือว่าเป็นแถบของขนที่กำลังขึ้นงอกงาม มิใช่ข้อบกพร่องสีของขน จมูกและเล็บ ดัชชุนด์สีเดียว กลุ่มนี้รวมถึงสีแดง เหลืองแดง เหลือง และลายเทา อาจจะมีหรือไม่มีขนสีดำกระจายอยู่ สีที่สะอาดเป็นสีที่นิยมมากกว่าสีแดง เป็นที่นิยมมากกว่าสีเหลืองแดงหรือสีเหลือง จุดขาวเล็กเป็นที่ยอมรับได้ แต่ก็ไม่เป็นที่ต้องการ จมูกและหางดำ สีน้ำตาลเป็นที่ยอมรับได้แต่ก็ไม่เป็นที่ต้องการ ดัชชุนด์ 2 สี จะประกอบด้วยสีดำเข้ม ช็อคโกแลต เทา (น้ำเงิน) และขาว แต่ละแบบจะมีแต้มสีแทนเหนือตาด้านข้างขากรรไกรและใต้ริมฝีปาก ด้านในของหู ด้านหน้าหน้าอก ด้านในและด้านหลังของขาหน้า ที่อุ้งเท้า และรอบก้น และจากตรงนั้นไปถึงประมาณหนึ่งในสาสมถึงหนึ่งในสองของคสามยาวของหางที่อยู่ด้านล่าง ชนิด 2 สีที่แพร่หลายมากที่สุดตามปกติจะเรียกว่าดำและแทน จุดสีขาวขนาดเล็กยอมรับได้ แต่ไม่พึงต้องการ จมูกและเล็บจะมีสีน้ำตาล สำหรับสุนัขสีเทา(น้ำเงิน) หรือขาว สีเทา หรือแม้แต่สีเนื้อ ในกรณีของสุนัขสีขาว จมูกและเล็บสีดำจะเป็นที่นิยมมากกว่า 2. ดัชชุนด์ขนลวด ลักษณะโดยทั่วไปเป็นแบบเดียวกับดัชชุนด์ขนสั้นแต่ขาไม่ยาว ยอมให้ลำตัวสูงกว่าพื้น ขนทั้งลำตัวยกเว้นขากรรไกร คิ้ว หู ปกคลุมไปด้วยขนแข็ง หยาบ หนา สั้น เหมือนกันหมดทั้งลำตัว แต่มีขนที่สั้นกว่าและละเอียดกว่ากระจายอยู่ระหว่างขนที่หนา มีเคราอยู่ที่คาง ขนคิ้วเป็นพุ่ม ที่ตรงบริเวณหูขนจะสั้นกว่าที่ลำตัว แต่กรณีใดๆ เป็นไปตามส่วนที่เหลือของขน การจัดเรียงตัวโดยทั่วไปของขน เมื่อจากระยะไกลคงคล้ายขนเรียบ ขนที่มีความนุ่มชนิดใดๆก็ตามเป็นข้อบกพร่อง 3. ดัชชุนด์ขนยาว ลักษณะที่เด่นชัดที่ทำให้สุนัขชนิดนี้ แตกต่างจากดัชชุนด์ขนสั้นหรือขนเรียบ คือเฉพาะขนแพรไหมที่ค่อนข้างยาว ขนนุ่มเรียบเป็นประกาย ขนที่หยิกเล็กน้อย ควรมีความยาวกว่าที่บริเวณใต้คอ ที่ด้านล่างของลำตัวโดยเฉพาะที่หูและหลังขาเป็นลักษณะขนยาว ขนควรมีความยาวที่ด้านใต้หาง ขนยาวพ้นขอบด้านล่างของหู ขนสั้นที่หูเรียกว่า "หนัง" ไม่เป็นที่นิยม การที่มีขนมากเกินไปทำให้ดัชชุนด์ขนยาวจะดูขนหยาบกระด้างและปิดบังชนิดของพันธุ์ดัชชุนด์จิ๋ว ดัชชุนด์ขนาดจิ๋วที่มีการผสมพันธุ์ในขนทั้ง 3 ประเภทภายในขีดจำกัดที่กำหนด มีลักษณะเหมือนดัชชุนด์ทั่วไปแต่ย่อส่วนลง ด้านจิตใจและร่างกายควรเป็นลักษณะที่เด่นชัดที่สุดของดัชชุนด์จิ๋วมิได้มีการแยกออกไปต่างหาก แต่เป็นกลุ่มของสุนัข สำหรับขนาดต่ำกว่า 10 ปอนด์ และ 12 เดือนขึ้นไป
วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553
วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553
สุนัข พันธุ์เชาเชา
เชา เชาเป็นสุนัขที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น มีประวัติศาสตร์สายพันธุ์มายาวนาน กว่า 2000 ปี สุนัขเชา เชา เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์มาสตีฟแห่งธิเบตและพันธุ์ชามอยจากตอนเหนือของไซบีเรีย แต่มีข้อโต้แย้งว่าเชา เชาอาจเป็นสุนัขพันธุ์แท้ดั้งเดิม เพราะเป็นเพียงสุนัขพันธุ์เดียวในโลกที่มีลิ้นสีดำปนน้ำเงินเชา เชาเริ่มมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษในปี 1880 โดยพระนางเจ้าวิคตอเรียทรงให้ความสนพระทัย สมาคมสุนัขพันธุ์เชา เชาได้ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในอังกฤษในปี 1895 สุนัขพันธุ์เชา เชามีความสามารถในการดมกลิ่นเป็นเลิศ มีความเฉลียวฉลาดในกลวิธีการล่าสัตว์ปัจจุบันสุนัขพันธุ์เชา เชาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ในบ้านเราจัดได้ว่าได้รับความนิยมอยู่ในเกณฑ์สูงและจัดได้ว่าเป็นสุนัขที่ค่อนข้างมีระดับ เหตุเพราะว่าเป็นสุนัขที่มีราคาค่อนข้างสูง จากการที่เชา เชามีขนหนาแน่นปกคลุมอยู่ทั่วตัว ทำให้ร่างกายอุ้มความร้อน ดั้งนั้นเชา เชาจึงชอบอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น ในสภาพอากาศที่ร้อนอย่างบ้านเรา มักจะทำให้เหนื่อยง่ายและเฉื่อยชา แต่อย่างไรก็ตามการที่เชา เชามีการขยายพันธุ์ในหลายๆ รุ่น ทำให้สามารถปรับสภาพกับอากาศในเมืองไทยได้พอสมควร มาตราฐานสายพันธุ์ ลักษณะทั่วไป : เชา เชาเป็นสุนัขที่เต็มไปด้วยพละกำลัง ลำตัวสั้นกระทัดรัด มีความแคล่วคล่องว่องไวและตื่นตัวอยู่เสมอ มีมัดกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและมีโครงสร้างที่สมดุลมาก ลำตัวเป็นสี่เหลี่ยม ศีรษะกว้างและแบน สันจมูกกว้างและสั้น มีขนขึ้นหนาแน่นโดยเฉพาะที่รอบคอ ขาใหญ่ตั้งตรงและแข็งแรง ขนมีความมันเป็นประกาย ลักษณะเด่นของเชา เชาคือ มีความเป็นเอกลักษณ์ มีความสง่างามและมีความเป็นธรรมชาติ เปรียบเสมือนกับเป็นราชสีห์ หน้าตาดุดันแข็งขัน สงบและว่างท่าอย่างสุขุมเป็นผู้ดี มีความเป็นอิสระและมีการตัดสินใจที่ดี ศีรษะ : มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดรูปร่าง มีกะโหลกศีรษะแบนกว้าง มีสต๊อปชัดเจน ลักษณะหน้าตาฉายแววของความทรนงองอาจ สันจมูกสั้นและกว้างเมื่อเทียบกับความยาวของกะโหลกจากตาจนถึงปลายจมูก ริมฝีปากเต็มและยื่น ฟัน : ฟันขาว แข็งแรง สบกันพอดี จมูก : จมูกใหญ่ กว้างและมีสีดำ ถ้าจมูกมีลายจุดหรือมีสีอื่นที่เห็นได้ชัดเจนนอกจากสีดำถือว่าขาดคุณสมบัติ ยกเว้นเชา เชาที่มีดำ, น้ำเงิน จมูกอาจมีสีน้ำเงินได้ ลิ้นมีสีดำออกน้ำเงิน เนื้อเยื่อในปากออกสีดำ ถ้าลิ้นมีสีชมพูแดงหรือมีจุดสีแดงจนเห็นได้ชัดเจนถือว่าขาดคุณสมบัติ ตา : มีสีดำขนาดปานกลาง รูปร่างเรียวคล้ายผลอัลมอนด์ ขอบตาสีดำ หู : ใบหูเล็ก ตรงปลายหูมีความโค้งมนเล็กน้อย หูแข็งตั้งขึ้น เอียงออกด้านข้างและด้านหน้าเล็กน้อย ถ้าหูตกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างถือว่าขาดคุณสมบัติ ลำตัว : สั้นกระทัดรัด มีซี่โครงผายออก ความสูงของลำตัวมีขนาดใกล้เคียงกับความยาวของลำตัว เส้นหลังตรงขนานกับพื้น คอ : ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ คอกลม มีความยาวพอเหมาะ แข็งแรง ทำให้ดูสง่างาม อก : กว้างและลึกเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อ ลึกจรดข้อศอก ถ้าอกแฟบถือว่าเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรง ขาหน้า : ขาหน้าตั้งตรง กระดูกมีขนาดใหญ่ มีมัดกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ข้อเท้าขาหน้าตั้งตรงตั้งฉากกับพื้น เท้าชี้ตรงไปข้างหน้าไม่บิดซ้าย - ขวา เท้ามีลักษณะหนากลม เท้าชิด เล็บตัดสั้น ขาหลัง : มีกระดูกใหญ่ ขาหลังท่อนบนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ มองจากด้านหลังขาหลังตรง และขนานห่างกันพอเหมาะ ข้อเท้าหลังตรงตั้งฉากกับพื้น มองจากด้านข้าง สะโพก หัวเข่าและข้อเท้าจะเป็นเส้นตรงเดียวกัน เท้าหลังมีลักษณะคล้ายเท้าหน้า เอว : มีขนาดสั้นและลึก ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ ขน-สี : มี 2 ชนิด คือ ชนิดขนสั้นและชนิดขนยาว มีขนที่ดกหนา เส้นขนเหยียดตรง ขนชั้นนอกค่อนข้างหยาบ ขนชั้นในนุ่ม มีสีสดใสและเป็นสีเดียวกันตลอด อาจมีเฉดสีแตกต่างออกไปเล็กน้อยตรงแผงคอ ที่หางและที่ก้น เชา เชามีสีดำ, สีเทา, สีแดง, สีครีม ที่สำคัญคือ เชา เชาต้องมีสีเดียวตลอดทั้งตัว หาง : โคนหางอยู่ในระดับสูง หางพาดแนบหลัง ส่วนสูงและน้ำหนัก : สูงประมาณ 17 - 20 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 24 - 27 กิโลกรัม การเคลื่อนไหว : มีความมั่นคง สง่างาม ขณะวิ่งขาตึง ยกเท้าไม่สูง คอเชิด
วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553
สุนัข พันธุ์ชิวาวา
ลักษณะทั่วไป : ชิวาวาเป็นสุนัขขนาดเล็กที่มีความฉลาดและจงรักภักดีต่อเจ้าของมาก มีทั้งพันธุ์สั้นและขนยาว ชิวาวาพันธุ์ขนสั้นมีต้นกำเนิดมาจากสุนัขสายพันธุ์ดั้งเดิม ส่วนสายพันธุ์ขนยาวเพิ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาภายหลัง ชิวาวาเป็นสุนัขที่มีโครงสร้างกระชับสมสัดส่วน ดูสง่างาม คล่องแคล่วว่องไวและตื่นตัวตลอดเวลา กะโหลกมีลักษณะกลม ความยาวลำตัวมากกว่าความสูงเล็กน้อย จมูกและปากสั้น ปลายจมูกค่อนข้างแหลม จมูกมีสีเข้มเข้ากับขนลำตัว ใบหูมีขนาดใหญ่ปลายหูค่อนข้างแหลมตั้งขึ้น ตาโตแต่ไม่ยื่นโปนออกมา นัยน์ตามีสีดำสนิทนิสัย : ชิวาวาเป็นสุนัขมีความฉลาดและจงรักภักดีต่อเจ้าของมา กเมื่อเทียบกับสุนัขพันธุ์อื่นๆ โดยปกติมักเป็นสุนัขที่เงียบสงบไม่ค่อยเห่าส่งเสียงร บกวน เว้นแต่จะถูกรบกวนหรือทำตกใจจึงจะเห่าเพื่อรักษาที่อ ยู่อาศัยของตัวเอง นอกจากนี้ยังมีนิสัยกล้าหาญมักจะยืนหยัดต่อสู้กับสุนัขตัวอื่นๆ ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กกว่า แต่ก็มีอัธยาศัยที่ดีกับสุนัขตัวอื่นหรือสัตว์เลี้ยง ชนิดอื่นๆขนาด :- ความสูง 16-20 (เซนติเมตร)- น้ำหนักตัว 2.5-2.7 (กิโลกรัม)ขน :- ชิวาวาพันธุ์ขนสั้น เส้นขนควรมีลักษณะอ่อนนุ่มและแนบติดกับลำตัวขนเป็นมั นแวววาว หากชิวาวาตัวโต จะมีขนขึ้นดกหนากว่าปกติ เพราะมีขนชั้นในด้วยไม่ถือว่าผิดมาตรฐานโดยปกติขนที่บริเวณลำตัวและคอ จะขึ้นหนาแน่นกว่าขนตามส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ส่วนขนที่บริเวณศีรษะและใบหูจะบางกว่าส่วนอื่น- ชิวาวาพันธุ์ขนยาว เส้นขนควรมีลักษณะอ่อนนุ่ม ขนเหยียดตรง หรือเป็นลอนเล็กน้อย แต่ห้ามหยิก ขนชั้นในจะมีหรือไม่มีก็ได้ ขนที่บริเวณใบหูจะต้องยาว แต่ถ้าขนยาวและดกมากหนาเกินไปจนห้อยปรกลงมาครอบใบหู ควรตัดเล็มออกสำหรับขนที่บริเวณขาอุ้งเท้า และบริเวณด้านหลังของสะโพกควรมีเส้นเล็กบาง ส่วนขนที่บริเวณลำคอและหางควรมีลักษณยาวและฟูสี : ของขนที่บริเวณหางควร มีสีกลมกลืนกับสีของขนบนตัว- สำหรับชิวาวาขนสั้น ขนที่บริเวณหางควรมีลักษณะยาวและอ่อนนุ่มกว่าขนบนตัว- ส่วนชิวาวาพันธุ์ขนยาว ขนที่บริเวณหางควรมีลักษณะยาวและอ่อนนุ่มศีรษะ : กะโหลกศีรษะควรกลมคล้ายผลแอปเปิ้ลตั้งกลับหัว ผิวหนังตรงบริเวณกรามและแก้ม ควรตอบแนบติดกับกระดูกหู : ใบหูควรมีขนาดใหญ่ ปลายหูค่อยข้างแหลม ในยามที่สุนัขเกิดความตื่นตัวหรือกำลังให้ความสนใจกั บสิ่งหนึ่งสิ่งใด ใบหูควรตั้งชัน แต่ในยามปกติใบหูทั้ง 2 ข้างควรตั้งถ่างออกจากกันโดยฐานใบหูทำมุมเฉียง 45 องศา กับกะโหลกศีรษะ สำหรับชิวาวาพันธุ์ขนยาว บริเวณหลังใบหูควรมีขนยาว ปกคลุมถ้าหากขนขึ้นที่ใบหูดกหนามากเกินไปอาจเล็มแต่เ พื่อความสวยงามไดแต่ถ้าใบหูห้อยปรกลงมาถือว่าบกพร่องตา : ตาโตแต่ไม่ควรยื่นโปนออกมามาก ตาทั้ง 2 ข้างควรมีขนาดเท่าๆกัน และตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากกันในระดับพอเหมาะ นัยน์ตาควรมีสีดำสนิทส่องประกายแวววาว แต่สำหรับชิวาวาที่มีขนสีครีมออกเหลือง หากนัยน์ตามีสีจางอนุโลมได้ จมูก จมูกปากควรสั้น ปลายจมูกปากค่อนข้างกลม สีของจมูกควรมีสีเข้ากับสีของขนบนลำตัว สำหรับชิวาวาที่มีขนสีครีมออกเหลือง หากจมูกมีสีชมพูถือว่าพออนุโลมได้ซึ่งจุดนี้จะแตกต่า งจากสุนัขพันธุ์อื่นๆ เพราะโดยส่วนใหญ่ หากสุนัขมีจมูกสีชมพู ถือว่าเป็นข้อบกพร่องร้ายแรงมากฟัน : ฟันหน้าควรขนกันได้สนิทเหมือนกรรไกร โดยฟันบนเกยอยู่ด้านนอก แต่ถ้าฟันแถวล่างเกยอยู่ด้านนอก หรือฟันบนขบเกยอยู่ด้านนอก แต่ขบฟันล่างไม่สนิทหรือฟันขาด หรือฟันขึ้นไม่เป็นระเบียบล้วน ถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรงทั้งสิ้นคอและหัวไหล่ : ลำคอควรมีลักษณะเป็นเส้นโค้งสวยงาม ลาดเทเข้าหาหัวไหล่เล็กน้อย สำหรับชิวาวาพันธุ์ขนสั้น ความสวยงามของลำคอถือเป็นเรื่องสำคัญมากเนื่องจากมอง เห็นได้อย่างชัดเจน เพราะไม่มีขนมาบดบัง ส่วนชิวาวาพันธุ์ขนยาว ขนที่บริเวณลำคอควรยาวแต่ไม่ถึงกับยาวและดกหนามาก หัวไหล่ที่ดีควรมีลักษณะราบเรียบและค่อยๆขยายออกกว้า ง รับกับขาหน้าทั้ง 2 ข้าง กระดูกหัวไหล่ควรลาดเทลงหาแผ่นหลังอก : ควรลึก และกว้าง แต่ไม่ต้องถึงกับเท่าพันธุ์บลูด็อก แผ่นหลังและลำตัวแผ่นหลัง ควรมีลักษณะเป็นเส้นตรงขนานกับพื้น ความยาวของลำตัวมีมากกว่าความสูงเล็กน้อย โดยปกติชิวาวาเพศผู้จะมีลำตัวที่สั้นกว่าเพศเมีย โครงสร้างลำตัวมีลักษณะค่อนข้างกลม ไม่แบน แต่ก็ไม่ถึงกลมเหมือนถังเบียร์ลำตัว : ครึ่งท่อนหลังจะต้องเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อ ข้อศอกขาหลังเวลายืนตั้งอยู่ห่างจากกันในระดับพอเหมา ะ ข้อศอกไม่ควรบิดเข้าหากัน เวลาที่สุนัขเดินหรือวิ่งแลดูแข็งแรง เท้าไม่ปัดหาง : ต้องยาวพอเหมาะ หางควรตั้งและมีลักษณะโค้งคล้ายหางของสุนัขไทยหางดาบ ในกรณีที่สุนัขมีหางม้วน อนุโลมให้ปลายหางม้วนแตะแผ่นหลังได้ แต่ห้ามเลยระดับแผ่นหลังลงมาขาและเท้า : ขาควรเหยียดตรงและตั้งขนานกัน อุ้งเท้าควรมีขนาดเล็ก นิ้วเท้าแยกออกจากกัน แต่ไม่ถึงกับกางแบะออกเหมือนตีนเป็ด อุ้งเท้าคล้ายกับอุ้งเท้าของสุนัขพันธุ์บลูด็อก ซึ่งจะแตกต่างจากอุ้งเท้าของสุนัขพันธุ์อื่นๆ ซึ่งโดยมากมีอุ้งเท้ากระชับสี : สีขนอาจมีได้หลายสี ไม่มีข้อจำกัด อาจเป็นสีเดียวกันทั้งตัวหรืออาจมีมาร์คกิ้งหรือสีด่ างก็ได้ สีขนมีได้ไม่จำกัด อาจเป็นสีเดียวทั้งตัวหรือมี มาร์คกิ้งหรือมีสีต่างๆก็ได้
วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553
สุนัข พันธุ์บางแก้ว
ชมรมผู้อนุรักษ์และพัฒนาสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว จ.พิษณุโลก เป็นหน่วยงานแรก ๆ ที่ได้ประชุม ตกลงร่างมาตรฐานหมาบางแก้วขึ้นมา (ในปี พ.ศ. 2534ป และได้ถือเป็นแบบอย่างมาเท่าทุกวันนี้ หมาบางแก้วจะเดินหรือวิ่งเหยาะ ๆ ท่วงท่าสวยงาม ปกติจะวิ่งซอยเท้าถี่ ๆ สง่างาม บางตัวเวลาเดินเห็นแผงขนบนสันหลังยกขึ้นดูสง่างามเฉกเช่นม้าย่างเท้าสวนสนาม ขึ้นชื่อมากเรื่องความดุ มีความซื่อสัตย์ต่อเจ้าของ รักและหวงเจ้าของ ไม่ชอบคนแปลกหน้า มีความสามารถในการดมกลิ่นเป็นเลิศ จำเสียงได้ แม่นยำ กินอาหารง่าย มีความกล้าหาญ กล้าที่จะสู้กับสุนัขที่ตัวโตกว่า มีประสาทตื่นอยู่เสมอแม้นอนหลับ เป็นสุนัขที่ชอบเล่นน้ำ เมื่อหมอบข้อศอกจะแนบกันพื้นและเท้าหลังจะแบออกทั้งสองข้าง ก่อนจะกินน้ำในอ่าง ชอบเอาเท้าหน้าข้างหนึ่งข้างใดจุ่มลงไปในอ่างก่อน เวลาขู่จะเหยียดขาหน้าพุ่มไปข้างหน้า แล้วผงกหัวและแผงขนหลังตั้งขึ้นพร้อมกับส่งเสียงขู่ ชอบกินเนื้อสัตว์และปลา เนื่องจากหมู่บ้านบางแก้ว อาชีพหลักของชาวบ้านแถบนั้นคือจับปลา ค้าปลาน้ำจืด และเลี้ยงสุนัขไว้บนแพ อาหารที่ได้จึงหลีกไม่พ้นปลา แต่อาหารอื่นก็กินได้เช่นกันหัวกะโหลก กะโหลกใหญ่ ปากยาวแหลม คอยาวกว่าหมาไทยทั่วไป กะโหลกศีรษะและปากรับกันเป็นรูปสามเหลี่ยม หูเล็กสั้นตั้งป้องไปข้างหน้า ปลายหูเบนออกข้างเล็กน้อย โคนหูทั้งสองอยู่ห่างกันมากกว่าหมาไทยหลังอาน จึงใช้เป็นจุดเด่นในการสังเกตว่าเป็นหมาบางแก้ว ตาเล็กกลมรี พื้นสีตาเป็นสีเหลืองทองคล้ำ ม่านตาตรงกลางสีดำ มีแววของความไม่เชื่อใจใครง่าย ๆ ขณะโกรธหรือขู่จะขึ้นแววฟ้าใส แววที่เรียกว่า "ตาเขียว" จมูกสีดำ ฟันซี่เล็กขาวคม มีเขี้ยวข้าบน 2 ล่าง 2 ลิ้นเป็นสีชมพู ส่วนมากไม่มีปากดำเหมือนหมาไทยหลังอานหู มี 2 ลักษณะ คือ ถ้าหากใบหูใหญ่ปลายหูกลมมน ภายในหูมีขนปกคลุมปิดรูหูเป็นลักษณะของหูสุนัขจิ้งจอก แต่ถ้าหูเล็กสั้นมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ตั้งป้องตรงไปข้างหน้า ปลายหูเบนออกไปทางด้านข้างเล็กน้อย จะเป็นลักษณะของหูหมาไน ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก หูของหมาบางแก้วส่วนมากที่ขอบใบหูจะมีลักษณะเป็นสันเล็ก ๆ มีขนอ่อนปกคลุมอยู่ภายในหู และที่กกหูด้านนอกจะมีขนปุยนุ่มปกคลุมมากบ้างน้อยบ้างตา มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมคล้ายตาเสือ ที่ทำเป็นเซื่องซึม แต่เมื่อเจอะเจอคนแปลกหน้าจะมีแววดุวาวและเขียวปั๊ดปาก ปากแหลมเรียวกว่าสุนัขไทยทั่ว ๆ ถ้าหากมองจากหน้าหน้าจะสังเกตเห็นว่าหัวกะโหลกลงมายังปากจะแคบสอบลงไปเรื่อย ๆ คล้ายกับสามเหลี่ยม ถ้าหากสีของลำตัวด่างแดงสนิมกับขาวหรือดำขาวบริเวณปากจะมีสีขาวผ่านตลอดใต้คางที่ปลายปาก ซึ่งคล้ายคลึงกับลักษณะของสุนัขจิ้งจอกและหมาไน ซึ่งคนไทยโบราณเรียกว่า ปากคาบแก้ว ถ้าเป็นสีปลอดมักจะไม่มี ฟันแข็งแรง เขี้ยวเล็ก แหลมคม
คอ ใหญ่ หนา และแข็งแรงมาก เมื่อโตเป็นหมาหนุ่มสาวจะต้องใช้โซ่และปลอกคอที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง เพราะเวลากระโดดหรือกระชากจะได้ไม่ขาดง่ายหาง โคนหางใหญ่ โค้งงอไปข้างหน้า ถ้าปลายคางจรดกลางหลังไม่ไพล่ไปข้างใดข้างหนึ่งของลำตัวจะสวยงามมาก ขนที่หางจะยาวตั้งเป็นพุ่มกระจายเป็นพวงโค้งไปข้างหน้า ปลายหางจรดหลัง หางที่ขอดเป็น วงกลมหรือหางที่มีลักษณะอื่นๆ มิได้หมายความว่าไม่ถูกต้องตามลักษณะของหมาบางแก้ว ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของหางที่โค้งงอไปบนหลังนั้นเป็นลักษณะเด่นทางพันธุกรรมของหมาไทย ส่วนหางที่มีลักษณะเป็นพุ่มพวงนั้นเป็นลักษณะเด่นทางพันธุกรรมของหมาไนและหมาจิ้งจอก ด้วยเหตุผลดังกล่าวหมาพันธุ์ บางแก้วส่วนมากจังมีหางโค้งเป็นครึ่งวงกลมหรือวงกลม แต่เป็นพวงสวยงามซึ่งพอสรุปลักษณะเด่นของหากได้ 3 แบบ คือ 1. หางตั้งโค้งไปข้างหน้า บางตัวหางจะเหยียดตรงวางทาบไปบนหลัง 2. หางพุ่งไปด้านหลังแล้วโค้งตั้งขึ้นเหมือนหางดาบ ถ้าหางยาวจะโค้งมาจรดหลัง ถ้ายาวมากจะเบี่ยงลงข้าง ถ้าหางเป็นพวงใหญ่มีน้ำหนักมาก หางจะไพล่ห้อยลงข้างตัว ซึ่งส่วนใหญ่หมาบางแก้วจะมีหางลักษณะนี้ 3. หางเป็นพวงลาดแบบแทงดิน ยาวห้อยลงอย่างหางม้า เวลาดีใจ เมื่อเดินทางหรือวิ่งจะ แกว่งหางไปมา เวลายืนหากมั่นใจว่าปลอดภัยจะยกหางสูงขึ้นเลยระดับตัวเล็กน้อย เรียกว่าหางจิ้งจอกขน เนื่องจากหมาบางแก้วเป็นลูกผสมที่มี 3 สายเลือด คือ หมาใน หมาจิ้งจอก และหมาไทยพื้นบ้าน ลักษณะสีขนจึงมีสีดังต่อไปนี้คือ สีน้ำตาลแก่สีขาวปลอด สีดำปลอด สีด่างขาวน้ำตาล สีด่างขาว-ดำ และ สีนาค ซึ่งปัจจุบันนี้คงจะสูญพันธุ์ไปแล้ว หมาบางแก้วยังมีลักษณะเด่นอยู่อย่างหนึ่งคือจะมีจุดแต้มตามลำตัว และที่ขา ถ้าสุนัขสีดำ-ขาว จุดแต้มก็จะมีสีน้ำตาลแดงขนตามลำตัว มีลักษณะเป็นขนสองชั้น ชั้นแรกเป็นขนตามลำตัว เป็นขนที่สั้นและอ่อนนุ่มและหนากว่าขนชั้นที่ 2 ขนชั้นที่ 2 เป็นขนเส้นยาว ๆ เริ่มต้นจากท้ายทอย ผ่านต้นคอแผ่กระจายลงไปถึงหนอกหลัง กลางหลัง และโคนหาง บริเวณนี้มีลักษณะคล้ายอานม้า ขนที่บริเวณอกค่อนข้างหนาคล้ายแผงคอ ขนที่สีข้างค่อนข้างยาว สำหรับลูกสุนัขที่มีอายุประมาณ 1-2 เดือน มักจะมีขนหนาปุกปุยและเส้นละเอียดอ่อนนุ่มมือขาหลัง จะขนานกัน เอนลาดไปข้างหลังเล็กน้อย บริเวณแก้วก้นหรือต้นขาส่วนใหญ่จะมีขนยาวปุกปุยคล้ายปุยนุ่นปกคลุมบริเวณแก้มก้นและแถบใต้โคนหาง เวลาเคลื่อนไหวจะรับกับหางที่ปัดไปปัดมาขา ขาหน้าเหยียดตรงขนานกัน แต่ค่อนข้างใหญ่กว่าขาหลัง และใหญ่กว่าหมาไทยทั่วๆ ไป บริเวณโคนขาส่วนที่ติดกับลำตัวจะมีขนเส้นยาว ๆ ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า "ขาสิงห์"นิ้ว ชิดติดกันที่นิ้วของหมาที่อายุน้อยจะมีขนยาวปกคลุมคล้ายนิ้วเท้าของสุนัขจิ้งจอก ซึ่งต่างกับหมาไทยทั่ว ๆ ไปที่อายุยังน้อย ๆ อยู่นั้น ขนที่นิ้วเท้าจะไม่ยาว จะเริ่มยาวเมื่อมีอายุมากขึ้น เวลาเดินมักจะโหย่งเท้าท้อง ลักษณะท้องจะไม่คอดกิ่วเหมือนหมาไทยทั่วๆ ไป ลำตัวค่อนข้างจะกลมและหนากว่าหมาไทย แต่อกไม่ลึกเท่ากับหมาไทยทั่ว ๆ ไปหลัง ค่อนข้างจะแบนขนาด ตัวผู้สูงประมาณ 45-53 เซนติเมตร (19-21 นิ้ว) ตัวเมียสูงประมาณ 43-48 เซนติเมตร (17-19 นิ้ว) ตัวผู้หนักประมาณ 14-16 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 13-15 กิโลกรัมสี มีหลายสี เช่น สีด่างขาว-ดำ, สีขาว-น้ำตาล, สีขาว-เทาลักษณะทั่วไป เป็นสุนัขขนาดกลาง รูปทรงตั้งแต่ช่วงขาหน้าถึงขาหลังเป็นสามเหลี่ยมจัตุรัส อกกว้างและลึกได้ระดับกับข้อศอก ไหล่กว้าง ท้องไม่คอดกิ่ว ปากแหลม หูเล็ก หางพวง ขนมี 2 ชั้น รักเจ้าของ ฉลาด ปราดเปรียว กล้าหาญ ค่อนข้างดุ สามารถฝึกใช้งานได้ ชอบเล่นน้ำมาก และเกลือกโคนตมข้อบกพร่อง ใบหูพลิ้ว ไม่มีขนแผลรอบคอ ขาหน้าเล็ก ไม่มีแข้งสิงห์ ไม่มีขนคลุมนิ้ว เท้า หูใหญ่ หางขอด ขนหลุดร่วง ฟังบนยื่นกว่าฟันล่างหรือฟันล่างยื่นกว่าฟันบน ปากใหญ่ ตาใหญ่ หูไม่ตั้ง หางไม่เป็นพวง ขนสั้น อัณฑะเม็ดเดียว ฟันหัก 3 ซี่ขึ้นไป โดยไม่ใช่เพราะอุบัติเหตุ หางขาด ปากหู่ ตากลม เส้นหลังแอ่น
คอ ใหญ่ หนา และแข็งแรงมาก เมื่อโตเป็นหมาหนุ่มสาวจะต้องใช้โซ่และปลอกคอที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง เพราะเวลากระโดดหรือกระชากจะได้ไม่ขาดง่ายหาง โคนหางใหญ่ โค้งงอไปข้างหน้า ถ้าปลายคางจรดกลางหลังไม่ไพล่ไปข้างใดข้างหนึ่งของลำตัวจะสวยงามมาก ขนที่หางจะยาวตั้งเป็นพุ่มกระจายเป็นพวงโค้งไปข้างหน้า ปลายหางจรดหลัง หางที่ขอดเป็น วงกลมหรือหางที่มีลักษณะอื่นๆ มิได้หมายความว่าไม่ถูกต้องตามลักษณะของหมาบางแก้ว ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของหางที่โค้งงอไปบนหลังนั้นเป็นลักษณะเด่นทางพันธุกรรมของหมาไทย ส่วนหางที่มีลักษณะเป็นพุ่มพวงนั้นเป็นลักษณะเด่นทางพันธุกรรมของหมาไนและหมาจิ้งจอก ด้วยเหตุผลดังกล่าวหมาพันธุ์ บางแก้วส่วนมากจังมีหางโค้งเป็นครึ่งวงกลมหรือวงกลม แต่เป็นพวงสวยงามซึ่งพอสรุปลักษณะเด่นของหากได้ 3 แบบ คือ 1. หางตั้งโค้งไปข้างหน้า บางตัวหางจะเหยียดตรงวางทาบไปบนหลัง 2. หางพุ่งไปด้านหลังแล้วโค้งตั้งขึ้นเหมือนหางดาบ ถ้าหางยาวจะโค้งมาจรดหลัง ถ้ายาวมากจะเบี่ยงลงข้าง ถ้าหางเป็นพวงใหญ่มีน้ำหนักมาก หางจะไพล่ห้อยลงข้างตัว ซึ่งส่วนใหญ่หมาบางแก้วจะมีหางลักษณะนี้ 3. หางเป็นพวงลาดแบบแทงดิน ยาวห้อยลงอย่างหางม้า เวลาดีใจ เมื่อเดินทางหรือวิ่งจะ แกว่งหางไปมา เวลายืนหากมั่นใจว่าปลอดภัยจะยกหางสูงขึ้นเลยระดับตัวเล็กน้อย เรียกว่าหางจิ้งจอกขน เนื่องจากหมาบางแก้วเป็นลูกผสมที่มี 3 สายเลือด คือ หมาใน หมาจิ้งจอก และหมาไทยพื้นบ้าน ลักษณะสีขนจึงมีสีดังต่อไปนี้คือ สีน้ำตาลแก่สีขาวปลอด สีดำปลอด สีด่างขาวน้ำตาล สีด่างขาว-ดำ และ สีนาค ซึ่งปัจจุบันนี้คงจะสูญพันธุ์ไปแล้ว หมาบางแก้วยังมีลักษณะเด่นอยู่อย่างหนึ่งคือจะมีจุดแต้มตามลำตัว และที่ขา ถ้าสุนัขสีดำ-ขาว จุดแต้มก็จะมีสีน้ำตาลแดงขนตามลำตัว มีลักษณะเป็นขนสองชั้น ชั้นแรกเป็นขนตามลำตัว เป็นขนที่สั้นและอ่อนนุ่มและหนากว่าขนชั้นที่ 2 ขนชั้นที่ 2 เป็นขนเส้นยาว ๆ เริ่มต้นจากท้ายทอย ผ่านต้นคอแผ่กระจายลงไปถึงหนอกหลัง กลางหลัง และโคนหาง บริเวณนี้มีลักษณะคล้ายอานม้า ขนที่บริเวณอกค่อนข้างหนาคล้ายแผงคอ ขนที่สีข้างค่อนข้างยาว สำหรับลูกสุนัขที่มีอายุประมาณ 1-2 เดือน มักจะมีขนหนาปุกปุยและเส้นละเอียดอ่อนนุ่มมือขาหลัง จะขนานกัน เอนลาดไปข้างหลังเล็กน้อย บริเวณแก้วก้นหรือต้นขาส่วนใหญ่จะมีขนยาวปุกปุยคล้ายปุยนุ่นปกคลุมบริเวณแก้มก้นและแถบใต้โคนหาง เวลาเคลื่อนไหวจะรับกับหางที่ปัดไปปัดมาขา ขาหน้าเหยียดตรงขนานกัน แต่ค่อนข้างใหญ่กว่าขาหลัง และใหญ่กว่าหมาไทยทั่วๆ ไป บริเวณโคนขาส่วนที่ติดกับลำตัวจะมีขนเส้นยาว ๆ ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า "ขาสิงห์"นิ้ว ชิดติดกันที่นิ้วของหมาที่อายุน้อยจะมีขนยาวปกคลุมคล้ายนิ้วเท้าของสุนัขจิ้งจอก ซึ่งต่างกับหมาไทยทั่ว ๆ ไปที่อายุยังน้อย ๆ อยู่นั้น ขนที่นิ้วเท้าจะไม่ยาว จะเริ่มยาวเมื่อมีอายุมากขึ้น เวลาเดินมักจะโหย่งเท้าท้อง ลักษณะท้องจะไม่คอดกิ่วเหมือนหมาไทยทั่วๆ ไป ลำตัวค่อนข้างจะกลมและหนากว่าหมาไทย แต่อกไม่ลึกเท่ากับหมาไทยทั่ว ๆ ไปหลัง ค่อนข้างจะแบนขนาด ตัวผู้สูงประมาณ 45-53 เซนติเมตร (19-21 นิ้ว) ตัวเมียสูงประมาณ 43-48 เซนติเมตร (17-19 นิ้ว) ตัวผู้หนักประมาณ 14-16 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 13-15 กิโลกรัมสี มีหลายสี เช่น สีด่างขาว-ดำ, สีขาว-น้ำตาล, สีขาว-เทาลักษณะทั่วไป เป็นสุนัขขนาดกลาง รูปทรงตั้งแต่ช่วงขาหน้าถึงขาหลังเป็นสามเหลี่ยมจัตุรัส อกกว้างและลึกได้ระดับกับข้อศอก ไหล่กว้าง ท้องไม่คอดกิ่ว ปากแหลม หูเล็ก หางพวง ขนมี 2 ชั้น รักเจ้าของ ฉลาด ปราดเปรียว กล้าหาญ ค่อนข้างดุ สามารถฝึกใช้งานได้ ชอบเล่นน้ำมาก และเกลือกโคนตมข้อบกพร่อง ใบหูพลิ้ว ไม่มีขนแผลรอบคอ ขาหน้าเล็ก ไม่มีแข้งสิงห์ ไม่มีขนคลุมนิ้ว เท้า หูใหญ่ หางขอด ขนหลุดร่วง ฟังบนยื่นกว่าฟันล่างหรือฟันล่างยื่นกว่าฟันบน ปากใหญ่ ตาใหญ่ หูไม่ตั้ง หางไม่เป็นพวง ขนสั้น อัณฑะเม็ดเดียว ฟันหัก 3 ซี่ขึ้นไป โดยไม่ใช่เพราะอุบัติเหตุ หางขาด ปากหู่ ตากลม เส้นหลังแอ่น
วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553
สุนัขพันธุ์ โกลเด้นรีทริฟเวอร์
สุนัขพันธุ์ โกลเด้นรีทริฟเวอร์หนึ่งในความนิยมสูงสุดของบรรดาคนรักหมา ของเราๆท่าน มิอาจปฏิเสธได้ว่ามี สุนัขพันธุ์ โกลเด้นรีทรีฟเวอร์อยู่ด้วย เพราะด้วยความฉลาด น่ารัก สุภาพ รักธรรมชาติ บวกกับความซุกซนขี้เล่นของสุนัขพันธุ์นี้แล้ว ต้องยอมรับกันจริงๆว่า คุณโกลเด้น คุณเยี่ยมมาก....ความสูงสำหรับสุนัขโกลเด้น เพศผู้ จะอยู่ระหว่าง 23-24 นิ้ว ส่วนเพศเมียนั้นอยู่ระหว่าง 21.5-22.5 นิ้ว หากสุนัขของคุณมีส่วนสูงเกินหรือต่ำกว่าหนึ่งนิ้วของความสูงมาตรฐานที่กำหนดไว้ถือว่าเป็นข้อบกพร่องสำหรับสุนัข (ข้อกำหนดของ AKC-American Kennel Club)แต่ก็ไม่ผิดที่จะเลี้ยงดูไว้ทางด้านน้ำหนักตัวนั้น เพศผู้ อยู่ที่ 29.5-34 กิโลกรัม สำหรับเพศเมีย อยู่ที่ 25 – 29.5 กิโลกรัม จะเห็นได้ว่า โกลเด้นนั้นจัดอยู่ในสุนัขรูปร่างพอเหมาะไม่มีขนาดโตหรือเล็กจนเกินไป ดังนั้นการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับสุนัขพันธุ์นี้เพราะโกลเด้นรีทรีฟเวอร์มีคุณสมบัติในความไว การตื่นตัว ดูกระชับกระเชงไม่ชอบทำหน้าขี้เกียจหน้าตามีความเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา นี้เรียกว่าเป็นจุดเด่นหลักๆของสุนัขพันธุ์นี้ทีเดียวหากบ้านคุณมีบริเวณพอสมควรหรือมีที่ที่ซึ่งสามารถพาเขาไปเดินออกกำลังกายและทำกิจกรรมอื่นๆได้ก็สมควรที่จะรับสุนัขพันธุ์นี้ไว้พิจารณา โกลเด้นชอบเล่นน้ำเป็นชีวิตจิตใจ นี้คงเป็นเพราะโกลเด้นรีทรีฟเวอร์ถูกพัฒนาสายพันธุ์มาเพื่อเกมส์กีฬาล่าสัตว์ ไว้คอยเก็บเหยี่อที่ถูกยิงจำพวกนกหรือพวกเป็ดน้ำในสมัยนั้น จวบจนถึงทุกวันนี้ก็ยังเป็นนิสัยส่วนหนึ่งของสุนัขพันธุ์นี้ไปแล้ว เห็นน้ำเป็นไม่ได้ ชอบไปแช่และเล่นน้ำเป็นประจำ ยิ่งอากาศในเมืองไทยร้อนๆอยู่ด้วย สนุกทีเดียวสำหรับเขาหละโกลเด้นจัดอยู่ในประเภทสุนัขที่มีขนยาว ดังนั้นการดูแลขนคอยหวีคอยแปรงจึงต้องทำอยู่เป็นประจำๆถ้าหากคุณต้องการสุนัขที่มีขนสวยงามอยู่ตลอดเวลาการดูแลเอาใจใส่จึงเป็นสิ่งสำคัญ แชมพูดีๆ ไวตามินบำรุงต่างๆ จึงควรมีไว้ประจำบ้านหมาตัวใหญ่ปริมาณการบริโภคก็มากขึ้นตามตัว เพราะฉนั้นหากคิดจะเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้แล้วต้องมีการวางแผนหรือวางระบบที่ดี ว่าเวลาเมื่อไหร่ควรกิน เวลาเมื่อไหร่ควรออกกำลังกาย เป็นต้น ที่กล่าวมาแล้วต้องทำเป็นประจำทุกวัน สุนัขของคุณถึงจะมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่สมบูรณ์ เคยเห็นสุนัขโกลเด้นที่เลี้ยงตามบ้านหลายตัวมีขนาดตัวเล็กกว่ามาตราฐานมาก ขนดูสั้นและหยาบกระด้าง น้ำลายยืดอยู่ตลอดเวลาก็มี ความสง่างามแววตาขี้เล่น ฉลาด ได้หายไปจากตัวเสียหมดแล้ว ผิดกับบางตัวที่เคยเห็นรูปร่างสมส่วนสุขภาพขนดูสวยงาม บ่งบอกถึงความเอาใจใส่ของเจ้าของได้เป็นอย่างดี ดูแล้วน่าชมเชยเป็นอย่างยิ่ง โบราณเขาบอกว่า”ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ในขณะที่ ดูนางให้ดูแม่ แต่ที่แน่ๆอยากรู้จักนิสัยเจ้าของหมาก็ให้ดูที่หมาพันธุ์โกลเด้นที่เลี้ยงไว้” หรือคนที่เลี้ยงหมาพันธุ์นี้ว่าไม่จริง.........ไปดีกว่า!
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)